มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม

 

                                                      ประกาศ
    สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน 
   เรื่อง   มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม

                                                                      -----------------------------------
                        ด้วย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน คปป.ศูนย์ปฏิบัติการพิเศษและควบคุมการสืบสวนคดีสำคัญ, ศูนย์อำนวยการ, ศูนย์ประสานงาน, หน่วยงาน, สถาบัน, หรือที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นภายใต้การบริหาร การบังคับบัญชาของคณะบุคคล คปป.คณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ซึ่งทั้งหมดต่อไปในประกาศนี้จะเรียกว่า สนง.คณะกรรมการ คปป. ได้ให้ความสำคัญต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามนโยบายรัฐบาลซึ่งได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ชาติ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐและมีเจตนารมณ์ในการดำเนินงานอย่างโปร่งใส  มีคุณธรรม โดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม และผู้มีส่วนได้เสียตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี และเพื่อให้สอดคล้องตามการผ่านคัดเลือกจาก ปปช. การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ โดย ปปช. ได้อนุมัติให้องค์กรเข้าร่วมงานวันต่อต้านคอรัปชั่นสากล ซึ่งมีเพียง 502 รายโดยแถลงนโยบายร่วมกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2562  ณ เมืองทองธานี  กรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมานั้น          
                            ดังนั้น  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้หน่วยงานสามารถป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง สนง.คณะกรรมการ คปป. จึงได้ประกาศมาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม  ดังนี้

                        1. ผู้ปฏิบัติงาน คณะทำงาน หรือที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น ของ สนง.คณะกรรมการ คปป. ต้องมีความเข้าใจความหมายของการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม หรือผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interrest)  การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม หรือผลประโยชน์ทับซ้อน  หมายถึง  การีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมีผลประโยชน์ส่วนตนอยู่และมีการใช้อิทธิพลตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ส่วนตัว  โดยก่อให้เกิดผลเสียต่อผลประโยชน์ส่วนรวม ผลประโยชน์ทับซ้อนมีหลายรูปแบบไม่จำกัดอยู่ในรูปของตัวเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น  แต่รวมถึงผลประโยชน์อื่นๆที่ไม่ใช่รูปตัวเงินหรือทรัพย์สินก็ได้

                         ถือเป็นการทุจริตคอร์รัปชันประเภทหนึ่ง  เพราะเป็นการแสวงหาประโยชน์ส่วนบุคคลโดยการละเมิดต่อกฎหมาย ด้วยการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ไปแทรกแซงการใช้ดุลพินิจในกระบวนการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ จนทำให้เกิดการละทิ้งคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่สาธารณะ ขาดความเป็นอิสระ ความเป็นกลางและความเป็นธรรม ส่งผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะของส่วนรวม และทำให้ผลประโยชน์หลักขององค์กร หน่วยงานและสังคมต้องสูญเสียไป

                          2. แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม หรือผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interrest) การส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม หรือผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interrest) สามารถแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมได้  รวมถึงไม่มีพฤติกรรมที่เข้าข่ายการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม หรือผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interrest) 

                          3. พฤติกรรมที่เข้าข่ายการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม หรือผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interrest) 

                          (1) การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา
 
                          (2) การเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม
                          (3) การกำหนดนโยบาย การเสนอหรือให้ความเห็นชอบกฎหมาย ระเบียบ กฎใดๆอันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อกิจการของตน คู่สมรส บุตร หรือบิดามารดา
                          (4) การใช้ข้อมูลภายในของรัฐที่ยังเป็นความลับอยู่ซึ่งตนได้รับหรือรู้จากการปฏิบัติหน้าที่หรือการใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต
                          (5) การริเริ่ม เสนอ จัดทำ อนุมัติโครงการของหน่วยงาน เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อตนเองหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม 
                         (6) การเห็นอกเห็นใจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบด้วยวิธีการทดรอง สำรอง ทุนทรัพย์ หรือเงิน หรือทรัพย์สิน วัสดุสิ้นเปลือง การเสื่อมของอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักร ของเจ้าหน้าที่ สนง.คณะกรรมการ คปป. หรือที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น โดยไม่ว่าจะยื่นรายงานแจ้งขอเบิกเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดนั้นคืนหรือไม่ก็ตาม เพื่อเอื้ออำนวยผลประโยชน์ซึ่งกันกับบุคคล ให้อำนาจหน้าที่ใช้เวลาที่ไม่สมควรจะต้องไปกระทำสิ่งนั้นหรือภารกิจอื่นใดที่ผู้เกี่ยวข้องร้องขอความช่วยเหลือทางกฎหมายหรือผู้ใช้บริการทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเรียกว่าอย่างไรก็ตาม โดยไม่ได้ผ่านระบบกลั่นกรองตรวจสอบจากคณะทำงานกลั่นกรองรับเรื่องต่างๆขององค์กร โดยเป็นวิถีทางนำพาความเสื่อมทรามมีแต่เสียหายพาดพิงกระทบสิทธิไม่ว่าสิ่งใดๆได้ในอนาคต และจะต้องรับผลของการที่ปรากฏตามรายการกระทำของตน สิ้นเปลืองระยะเวลาในการบริหารจัดการบรรดาคดีอื่นๆอย่างไร้คุณค่าและมีผลกระทบทุกเรื่องทุกคดีถัดไปอย่างเลี่ยงไม่ได้
                              ให้เจ้าหน้าที่ตรองเหตุผลอย่าประเมินจากความรู้สึกของเจ้าหน้าที่เด็ดขาด แม้เจ้าหน้าที่จะมีเจตนาที่ดีอันสมควรยกย่องแต่ไม่สามารถประเมินผลของการเห็นอกเห็นใจที่เกิดจากการเจตนาหวังดี หรือเจ้าหน้าที่ประเมินเพียงจากผลระยะเวลาของกฎหมายที่จะส่งผลต่อผู้ใดก็ตาม เพราะไม่ใช่หน้าที่ดังมูลนิธิที่ได้รับอนุญาตให้ช่วยเหลือสังคม และ/หรือมูลนิธิหรือสมาคมก็มีขั้นตอนในการอนุมัติ อนุญาต ไม่อนุญาต ไม่อนุมัติ หรือประการอื่นใดก็ย่อมมีกระบวนการกลั่นกรองตามข้อบังคับระเบียบขององค์กรนั้นๆ  การกระทำเช่นดังข้อ 6 นี้ผลกระทบที่จะส่งผลต่อตัวเจ้าหน้าที่แล้วยังเกี่ยวพันส่งผลไปจนถึงผู้อื่น บุคคลที่สาม รวมทั้งองค์กร โครงการระหว่างภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ วิสาหกิจ เอกชน คณะบุคคล บุคคล พินาศย่อยยับ สิทธิถูกเรียกคืนพร้อมดอกเบี้ย ค่าปรับ และหากพิจารณาปรากฎเป็นดังความในข้อนี้ มาตรการขั้นเด็ดขาดไล่ออก อายัดสิทธิเรียกร้อง ทรัพย์สิน หรือฟ้องร้องดำเนินคดี เพื่อนำเงินหรือทรัพย์สินมาชดใช้ต่อความเสียหายที่ปรากฎเกิดขึ้นจริง หรือรับผิดทั้งทางวินัยและทางอาญาอย่างเลี่ยงไม่ได้
                          (7) การใช้ทรัพย์สินของหน่วยงานที่ตนสังกัดหรือที่ตนปฏิบัติหน้าที่อยู่เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย
                          (8) การรับของขวัญ ของที่ระลึก เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ที่มีผู้มอบให้ในโอกาสที่เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ของตนหรือตามที่ได้รับมอบหมาย  แม้ว่าผู้มอบจะระบุให้เป็นการส่วนตัวก็ตาม เว้นแต่เป็นสิ่งที่อาจได้รับตามกฎหมายหรือกฎ หรือเป็นสิ่งที่ได้รับตามจำนวนที่สมควรตามปกติประเพณีนิยมในการปฏิบัติหน้าที่ หรือเป็นการรับการให้ในลักษณะให้แก่บุคคลทั่วไป    
                  
               จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน

                                            ประกาศ  ณ  วันที่   17  พฤษภาคม  2565

                                                              ดร.สันติ  สระทองดี
                                                             ( ดร.สันติ  สระทองดี )
                                                              ผู้อำนวยการอาวุโส
                                          ประธานคณะกรรมการบริหาร สนง.คณะกรรมการ คปป.

   


                                  

โปรดแสกนเพื่ออ่านเอกสาร PDF. ด้วยเทคโนโลยีเพื่อความสะดวกของประชาชน                             
เอกสารแนบ :