ประจำเดือน ธันวาคม 2562

คปป.เตือนภัยผู้บริโภค !! แจ้งเตือนสินค้าไม่ปลอดภัยสินค้าระวัง!!! อันตรายจาก เล่นดอกไม้ไฟ พลุ ช่วงเทศกาล
UploadImage
เตือนภัยผู้บริโภค ระวัง!!! อันตรายจาก เล่นดอกไม้ไฟ พลุ ช่วงเทศกาล

ใกล้ช่วงปีใหม่ทีไรเราก็มักจะได้ยินข่าวเรื่องของการขอความร่วมมืองดเว้นการเล่นพลุดอกไม้ไฟ สาเหตุก็เพราะบ่อยครั้งที่ได้ยินข่าวบรรดาพลุหรือดอกไม้ไฟนำมาซึ่ง อุบัติเหตุแบบคาดไม่ถึง รุนแรงมากบ้างน้อยบ้าง หลายครั้งที่มันนำไปสู่การสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นเสียทรัพย์หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ที่สำคัญคือคนที่ได้รับอุอุบัติเหตุจากการเล่นพลุเล่นดอกไม้ไฟส่วนใหญ่ ก็คือ เด็กๆ ที่มักเล่นสนุกจนมองข้ามอันตราย


คำถามที่ตามมา คือ ในเมื่อพลุและดอกไม้ไฟเป็นสินค้าอันตราย แล้วการควบคุมการขาย การนำมาใช้นั้นได้มีการทำอย่างถูกต้องเข้มงวดแล้วหรือยัง ลองมาหาด้วยกันว่าบ้านเรามีวิธีจัดการกับปัญหาเรื่องอันตรายจากพลุและดอกไม้ ไฟมากน้อยขนาดไหน
ชนิดของพลุและดอกไม้ไฟ
พลุและดอกไม้ไฟที่จำหน่ายในท้องตลาดใน ปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งประเภทที่จุดแล้วทำให้เกิดแสงสว่าง และชนิดที่จุดแล้วทำให้เกิดเสียงดัง แต่โดยทั่วไปแล้วเราสามารถแบ่งประเภทของพลุและดอกไม้ไฟได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.พลุและดอกไม้ไฟขนาดเล็ก หรือ แบบทั่วไป (Consumer Fireworks) ใช้เล่นเพื่อความบันเทิงเป็นหลัก แสงหรือเสียงที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการเผาไหม้ พลุและดอกไม้ไฟขนาดเล็กจะมีปริมาณของส่วนผสมที่เป็นวัตถุระเบิดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อชิ้นสำหรับพลุและดอกไม้ไฟที่เล่นบนพื้นดิน และไม่เกิน 130 มิลลิกรัม สำหรับพลุและดอกไม้ไฟที่เล่นในอากาศ ตัวอย่างพลุและดอกไม้ไฟขนาดเล็กมีอย่างเช่น ประทัด ไฟเย็น พลุขนาดเล็ก กระจับ กระเทียม เป็นต้น

2.พลุและดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ หรือ แบบพิเศษ (Display Fireworks) พลุและดอกไม้ไฟขนาดใหญ่นิยมใช้กับงานแสดงในที่กว้าง โล่งแจ้ง ผู้ใช้จะต้องมีความชำนาญ ได้รับการฝึกอบรมในการใช้งานมาเป็นอย่างดี เพราะมีการระเบิดเผาไหม้ที่รุนแรงกว่า ที่สำคัญคือใช้ส่วนผสมของวัตถุระเบิดมากกว่า ตัวอย่างของพลุและดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ ได้แก่ พลุและดอกไม้ไฟขนาดใหญ่ที่นิยมยิงขึ้นฟ้าสร้างภาพและสีสันต่างๆ

อันตรายที่มักเกิดจากพลุและดอกไม้ไฟ

•อันตรายจากการเกิดไฟไหม้และการระเบิด
อุบัติเหตุที่เกิดจากพลุและดอกไม้ไฟที่นำ มาซึ่งความสูญเสียมากที่สุด ก็คืออุบัติเหตุที่เกิดจากการระเบิดของพลุและดอกไม้ไฟ โดยเฉพาะกับการระเบิดที่เกิดขึ้นภายในโรงงานที่ผลิต ซึ่งเต็มไปด้วยวัตถุดิบที่เอื้อต่อการเกิดการระเบิดที่รุนแรง บ่อยครั้งที่เราได้ยินข่าวโรงงานผลิตพลุและดอกไม้ไฟเกิดการระเบิด ซึ่งมักเป็นเหตุการณ์รุนแรง แถมยังมีสิ่งที่ตามมาหลังการระเบิด ทั้งการเกิดเพลิงไหม้ และการรั่วซึมของสารเคมีที่เป็นอันตราย

นอกจากนี้สาเหตุของการระเบิดและไฟไหม้อาจ ไม่ได้เกิดจากความไม่ได้มาตรฐานของโรงงานที่ผลิตแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีหลายเหตุการณ์ที่เกิดจากความประมาทของผู้ที่ซื้อพลุไปจุดเล่นแล้วไม่ ระมัดระวัง พลุหรือดอกไม้ไฟที่จุดไปตกยังบริเวณที่เสียงต่อการติดไฟทำให้ไฟเกิดลุกไหม้

อีกหนึ่งอุบัติเหตุจากพลุและดอกไม้ไฟที่ เห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง ก็คือการที่ผู้เล่นซึ่งมักเป็นเด็กและเยาวชนได้รับบาดเจ็บจากการจุดพลุและ ดอกไม้ไฟ ซึ่งมีไม่น้อยที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ไม่ว่าจะเป็นมือ นิ้วมือ แขน หรือ แม้แต่ดวงตา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความประมาท ความคึกคะนอง ซึ่งการป้องกัน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องคอยสอดส่องดูแล ไม่ควรให้เด็กเล่นวัตถุอันตรายอย่างพลุเด็ดขาด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ดูแลเรื่องการขายก็ต้องควบคุมดูแลให้การขายพลุและ ดอกไม้ไฟเป็นไปตามกฎ

•อันตรายจากการได้รับสารเคมี
เพราะส่วนประกอบหลักของพลุและดอกไม้ไฟเกิด จากการผสมกันของสารเคมีหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น สารโปแตสเซียมเปอร์คลอเรต ที่มีผลทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและระบบทางเดินหายใจส่วนบน, สารซัลเฟอร์หรือกำมะถัน จะทำให้เกิดอาการตาแดง ผิวหนังอักเสบ หายใจขัด เกิดการระคายเคืองที่ระบบทางเดินหายใจ, สารโปตัสเซียมไนเตรต หากสัมผัสถูกสารจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และเยื่อบุผิวหนัง ถ้ากลืนกินเข้าไปจะทำให้คลื่นไส้ ท้องเสีย และกล้ามเนื้ออ่อนแรง, สารแบเรียมไนเตรต เป็นสารที่

มีพิษมากจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหู ตา จมูก และผิวหนัง สารนี้มีผลทำลายตับ ม้าม และยังทำให้เกิดอัมพาตที่แขน ขา และบางรายอาจทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งอย่างที่เราได้รับทราบในข่าว เวลาที่เกิดการระเบิดของโรงงานผลิตพลุและดอกไม้ไฟ จะมีการอพยพชาวบ้านที่อยู่ในละแวกที่เกิดเหตุออกจากพื้นที่ เพื่อหลีกหนีอันตรายจากสารเคมีต่างๆ ที่อาจรั่วซึมออกมาพร้อมการระเบิด

•อันตรายการได้รับเสียงดัง
มีข้อมูลจากกรมอนามัย เรื่องความดังของเสียงระเบิดจากพลุและดอกไม้ไฟมีระดับเสียงกระแทกสูงถึง 130 เดซิเบล เอ (เดซิเบล เอ dB(A) คือ สเกลของเครื่องวัดเสียงที่สร้างเลียนแบบลักษณะการทำงานของหูมนุษย์ โดยจะกรองเอาความถี่ต่ำ และความถี่สูงของเสียงที่เกินกว่ามนุษย์จะได้ยินออกไป) ที่ระยะห่างจากจุดกำเนิด 5 เมตร ซึ่งสูงเกินกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 85 เดชิเบล เอ การที่หูของเราได้รับเสียงที่มีความดังเกินกว่า 130 เดซิเบล เอ มีผลทำให้เราเกิดอาการหูตึงชั่วคราว แต่หากต้องได้ยินติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลทำให้เกิดอาการหูตึงถาวร นอกจากนี้เสียงที่ดังมากๆ ก็มีผลต่อเรื่องของสุขภาพจิต ทำให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิด รำคาญ ส่งผลให้นอนไม่หลับ ทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอ รวมทั้งมีผลต่อผู้ป่วยโรคหัวใจและความดันโลหิต

•อันตรายจากความร้อน
พลุและดอกไม้ไฟใช้การจุดระเบิดเป็นตัวทำ ปฏิกิริยา ซึ่งการจุดไฟสิ่งที่ตามด้วยเสมอก็คือความร้อน หลายคนหลงเพลิดเพลินกับประกายสะเก็ดไฟที่สวยงาม จนลืมนึกถึงความร้อนของสะเก็ดไฟเหล่านั้น ซึ่งเป็นความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงมาก ตัวอย่างพลุที่ชื่อเรียกว่า ไฟเย็น ซึ่งเป็นที่นิยมมาก หลายๆ คนน่ารู้จักกันดี แม้จะชื่อไฟเย็นแต่เวลาที่จุดจะมีอุณหภูมิความร้อนสูงสุดถึง 900 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นความร้อนในระดับที่สามารถทำให้ผิวหนังไหม้ได้หากไปสัมผัสถูก

11 ข้อห้าม!!! ป้องกันอันตรายจากพลุและดอกไม้ไฟ

1.ห้ามให้เด็กๆ เล่นพลุและดอกไม้ไฟ หรือควรต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่
2.ห้ามเล่นพลุและดอกไม้ไฟ ที่ซื้อจากร้านค้าที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ สินค้าอยู่ในสภาพไม่สมบูรณ์ เก่า และไม่มีฉลากภาษาไทยที่ถูกต้องชัดเจน
3.ห้ามเล่นพลุและดอกไม้ไฟ ถ้ายังไม่ได้อ่านฉลาก คำแนะนำ วิธีการใช้ คำเตือน
4. ห้ามจุดดอกไม้ไฟที่เสื่อมสภาพหรือดอกไม้ไฟที่ถูกจุดแล้วแต่ยังไม่ระเบิด(ไม่ทำงาน) เพราะพลุและดอกไม้ไฟนั้นอาจระเบิดโดยไม่คาดคิด
5.ห้ามจุดพลุและดอกไม้ไฟ ถ้ายังไม่ได้เตรียมกระป๋องหรือถังใส่น้ำไว้ใกล้บริเวณที่จะจุดพลุหรือดอกไม้ ไฟ เผื่อไว้ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
6.ห้ามเข้าใกล้ดอกไม้ไฟที่ถูกจุดแล้วหรือดอกไม้เพลิงที่ยังดับไม่สนิท
7.ห้ามจุดพลุหรือดอกไม้ไฟ หากไม่อยู่ในระยะที่ปลอดภัย คือ 1 เมตร หรือ 1 ช่วงแขน
8.ห้ามประกอบหรือดัดแปลงพลุหรือดอกไม้ไฟไว้เล่นเองโดยเด็ดขาด
9.ห้ามเก็บพลุและดอกไม้ไฟไว้ในบ้าน หากต้องเก็บควรเก็บในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดฝามิดชิด สถานที่เก็บควรเป็นที่แห้งและมีอากาศเย็น
10.ห้ามจุดพลุหรือดอกไม้ไฟ ในพื้นที่โล่งแจ้ง บริเวณที่มีหญ้าแห้งหรือบริเวณที่เป็นสนามหญ้า เพราะหญ้าเหล่านั้นสามารถลุกติดไฟได้ หลีกเลี่ยงบริเวณอาคารบ้านเรือน หรือแหล่งที่มีวัสดุที่ติดไฟง่าย พวก ก๊าซ น้ำมัน หรือเชื้อเพลิง
11.ห้ามเล่นพลุและดอกไม้ไฟโดยเด็ดขาด หากไม่จำเป็น

                 *** ทางคณะกรรมการ คปป.จึงขอแจ้งเตือนภัยผู้บริโภคต้องระมัดระวัง ***
               ผู้บริโภคท่านใดไม่ได้รับความเป็นธรรมถูเอาเปรียบจากผู้ประกอบการทั้งการซื้อขายและการให้บริการทุกประเภทกรุณา แจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ผ่าน คณะกรรมการ คปป. เพื่อให้เป็นตัวแทนในการดำเนินการใช้สิทธิทางศาลในการคุ้มครองผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการให้บริการของผู้ประกอบการ เรายืนหยัดเคียงข้างท่าน ปรึกษา ฟรี สายด่วน ผู้อำนวยการ คปป. โทร.098-9791922 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วราชอาณาจักร 
 
                                             โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์    สำนักงานคณะกรรมการ คปป. (CPPB)
                               ศูนย์ ฯ สนง.คปป. ส่วนจังหวัดตรัง โทร. 075-829911  สายด่วนโทร.098-97919212
 
    คปป.เตือนภัยผู้บริโภค !! แจ้งเตือนสินค้าไม่ปลอดภัยสินค้าระวัง!! สินค้าประเภทพลุดอกไม้เพลิงดอกไม้ไฟ
    ลงข้อมูลเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2019 เวลา 10:16 น