นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน(คณะกรรมการ คปป.)

  

                                                                       
                                                     ประกาศ
         สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

        เรื่อง นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและ
                          ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน(คณะกรรมการ คปป.)

                     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๔ บัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง ประกอบกับ ปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและ ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (คณะกรรมการ คปป.) ซึ่งได้ยึดหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติราชการและ ส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและปฏิญาณสากลดังกล่าว เพื่อให้เกิดการเคารพ สิทธิมนุษยชนขึ้นในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นรูปธรรม และป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิ มนุษยชนไม่ว่าจะต่อเจ้าหน้าที่ ผู้รับบริการ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลดความเสี่ยงหรือปริมาณในการเกิดข้อร้องเรียน ร้องทุกข์ กรณีได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมีสาเหตุมาจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือ การให้บริการของหน่วยงาน รวมถึงเพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานโดยตามวัตถุประสงค์และเจตนารมขององค์กร สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (คณะกรรมการ คปป.) ปลอด จากการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนของสำนักงานปลัดสำนัก นายกรัฐมนตรี ดังนี้
                          ๑. ขอบเขต
                            "สิทธิมนุษยชน" คือ สิทธิที่มีโดยธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่าง ทางกาย จิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ประเทศตันกำเนิด เผ่าพันธุ์ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษาสถานะทางสังคม วัฒนะรรรม ขนบธรรมเนียม หรือเรื่องอื่นใดตามกฎหมายของแต่ละประเทศและตามสนธิสัญญาที่แต่ละประเทศมี พันธกรณีจะต้องปฏิบัติ รวมถึงสิทธิในการดำรงชีวิตและเสรีภาพการพันจากการเป็นทาสและการทรมาน การมีอิสระ ในการแสดงความคิดเห็นและรวมกลุ่มกันสิทธิในการทำงาน การศึกษา และอื่น ๆ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิต่าง ๆ เหล่านี้ โดยเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ
                              "เจ้าหน้าที่" คือ ผู้บริหาร คณะที่ปรึกษา คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน เจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง หรือผู้ซึ่งที่ปฏิบัติหน้าที่ที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรม และช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (คณะกรรมการ คปป.)
                              "บุคคลภายนอก" คือ ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บุคคลหรือกลุ่มบุคคล รวมถึงส่วน ราชการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับบริการหรือการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและ ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (คณะกรรมการ คปป.)
                               ๒. นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
                                 เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ ประชาชน (คณะกรรมการ คปป.)ทุกระดับ ต้องตระหนักถึงความสำคัญและเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในทุกด้าน ทั้ง ภายในองค์กรและบุคคลภายนอก ตลอดจนสังคมและชุมชนตามกฎหมายของแต่ละประเทศและตามสนธิสัญญาที่แต่ ละประเทศมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติต่อกัน โดยรวมถึง
                                 ๒.๑ ปฏิบัติต่อทุกคนตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียมปราศจากการเลือกปฏิบัติ
                                 ๒.๒ หลีกเลี่ยงการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
                                 ๒.๓ สนับสนุนส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
                             ๒.๔ การสื่อสาร เผยแพร่ ให้ความรู้ความเข้าใจ สอดส่องดูแล และให้การสนับสนุนอื่นใดแก่ เจ้าหน้าที่สำนักงาน คณ ะกรรมการป้องกันอาชญ ากรรมและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (คณะกรรมการ คปป.) ส่วนราชการหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในการให้บริการตลอดจนบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อให้มี ส่วนร่วมในการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรม เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อทุกคนตามหลักสิทธิมนุษยชนตาม แนวนโยบายนี้

                                ๓. แนวทางปฏิบัติ
                                    ๓.๑ ให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ ให้เกียรติซึ่งกันแลกัน และปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมโดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างทางกาย จิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ประเทศต้นกำเนิด เผ่าพันธุ์ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมหรือเรื่องอื่นใด

                                   ๓.๒ ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดสิทธิ มนุษยชนในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (คณะกรรมการ คปป.) และร่วมสอดส่องดูแลเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนของบุคคลภายนอก
                                 ๓.๓ สนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไม่ให้บุคคลใดถูกหลอกลวงบังคับใช้แรงงานหรือบังคับให้กระทำการอันมิชอบทุกรูปแบบ เพื่อลดปัญหาการค้ามนุษย์ที่เป็นการก่ออาชญากรรม
                                 ๓.๔ สื่อสาร เผยแพร่ ให้ความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน อาชญากรรมและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (คณะกรรมการ คปป.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ ให้บริการ เพื่อสร้างการรับรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรมเคารพต่อสิทธิมนุษยชน รวมทั้งปฏิบัติต่อ ทุกคนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
                                 ๓.๕  มีช่องทางสำหรับให้ผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือเจ้าหน้าที่ รวมถึงผู้ที่เชื่อว่าสิทธิของตนถูกละเมิดหรือได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม สามารถร้องเรียนได้ โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน อาชญากรรมและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (คณะกรรมการ คปป.) จะดำเนินการจัดการข้อร้องเรียน ดังกล่าวอย่างเป็นธรรมและปกปิดข้อมูลบุคคลที่แจ้งเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน คณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (คณะกรรมการ คปป.)
                                ๓.๖ สอดส่องดูแลเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน ไม่ละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องภายในสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชน (คณะกรรมการ คปป.) โดยต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ และให้ความร่วมมือในการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ หากมีข้อสงสัยหรือข้อซักถามให้ปรึกษากับผู้บังคับบัญชา 
                                 ๓.๗  ผู้ที่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน จะต้องได้รับการพิจารณาโทษตามที่ราชการกำหนด รวมทั้งโทษตามกฎหมาย หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย

                                 ๓.๘  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอาชญากรรมและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (คณะกรรมการ คปป.) ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์อำนวยการ หรือที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างออื่น มุ่งมั่นที่จะสร้างบรรทัดฐาน และปฏิบัติต่อทุกในการเคารพสิทธิมนุษยชนภายในองค์กรตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนนี้

                            จึงประกาศมาเพื่อทราบทั่วกัน

                                               ประกาศ ณ วันที่   ๑๖   เดือน    พฤษภาคม    พ.ศ. ๒๕๖๕
                                                                     
                                                                      ดร.สันติ สระทองดี
                                                                    ( ดร.สันติ สระทองดี )

                                                    ผู้อำนวยการอาวุโส ประธานคณะกรรมการบริหาร

เอกสารแนบ :