ข้อมูลทั่วไป

ส่วนที่ ๑   สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
๑.  ด้านกายภาพ                   
๑.๑  ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล    องค์การบริหารส่วนตำบลคอกช้าง  ตั้งอยู่เลขที่  ๑๑๑  หมู่ที่   ๙   ตำบลคอกช้าง  อำเภอสระใคร   จังหวัดหนองคาย  ๔๓๑๐๐  โทรศัพท์     ๐-๔๒๔๑-๙๐๗๔  โทรสาร  ๐-๔๒๔๑-๙๒๒๒ องค์การบริหารส่วนตำบลคอกช้าง  มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ   ๓๖  ตารางกิโลเมตร  หรือ  ๓๖,๘๖๒   ไร่  มีระยะห่างจากอำเภอสระใคร  ประมาณ  ๒  กิโลเมตร  ระยะห่างจากจังหวัดหนองคาย  ประมาณ  ๒๗  กิโลเมตร   
ทิศเหนือ           จด  ตำบลสระใคร         อำเภอสระใคร     จังหวัดหนองคาย
ทิศตะวันออก     จด  อำเภอเพ็ญ            จังหวัดอุดรธานี
ทิศใต้               จด  อำเภอเพ็ญ             จังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันตก       จด  ตำบลบ้านฝาง         อำเภอสระใคร    จังหวัดหนองคาย
          จำนวนหมู่บ้าน    องค์การบริหารส่วนตำบลคอกช้าง  มีจำนวนหมู่บ้าน    ๑๓  หมู่บ้าน   ประกอบด้วย
                             หมู่ที่  ๑          บ้านคอกช้าง
                             หมู่ที่  ๒          บ้านดงแสนแผง
                             หมู่ที่  ๓          บ้านดงหลี่
                             หมู่ที่  ๔          บ้านนาทราย
                             หมู่ที่  ๕          บ้านเหมือดแอ่
                             หมู่ที่  ๖          บ้านนากอ
                             หมู่ที่  ๗          บ้านสมสะอาด
                             หมู่ที่  ๘          บ้านดงมุข
                             หมู่ที่  ๙          บ้านใหม่เอราวัณ
                             หมู่ที่  ๑๐        บ้านโนนเชียงคูณ
                              หมู่ที่  ๑๑        บ้านพลายงาม
                             หมู่ที่  ๑๒        บ้านโพธิ์กลาง
                             หมู่ที่  ๑๓        บ้านโนนธาตุ
๑.๒  ลักษณะภูมิประเทศ/ลักษณะภูมิอากาศ
                   พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มมากกว่า  ๙๐  % ลาดเอียงจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ รองลงมาคือพื้นที่น้ำ  ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่ทำกินคือ  ส่วนที่เป็นทุ่งนา  มีลักษณะภูมิอากาศ  แบ่งเป็น  ๓  ฤดู
                   ฤดูร้อนช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย  ๓๙  องศา
                   ฤดูฝนช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ย  ๒๗  องศา
                   ฤดูฝนช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย  ๑๘  องศา
                            
๑.๓  ลักษณะของแหล่งน้ำ
                        มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติขนาดเล็ก  เช่น  ห้วย  หนอง  คลอง  บึง  กระจายอยู่ในพื้นที่  ซึ่งมีความสำคัญต่อการอุปโภคบริโภคและด้านการเกษตร  ดังนี้
ลำน้ำ,ลำห้วย                                      จำนวน   ๘   แห่ง
บึง,หนอง                                           จำนวน   ๖   แห่ง
ฝาย                                                 จำนวน  ๑๕  แห่ง
บ่อน้ำตื้น                                           จำนวน   ๒๐  แห่ง
บ่อน้ำโยก                                          จำนวน   ๒๘  แห่ง
บ่อน้ำประปาประจำหมู่บ้าน                    จำนวน   ๗   แห่ง
ประปาขนาดใหญ่                                 จำนวน   ๒   แห่ง ​๒.ด้านการเมือง/การปกครอง
แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น  ๑๓  หมู่บ้าน  มีโครงสร้างการบริหารองค์กรประกอบด้วย
     ๒.๑  ฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  ประกอบด้วย
      - ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  ๑  คน
      - รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  ๑  คน
      - สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  ๒๐   คน
     ๒.๒  ฝ่ายบริหาร  ประกอบด้วย
      -  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ๑  คน
      -  รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ๒  คน
      -  เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ๑  คน
๓.  ประชากร   
     ๓.๑  ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร  องค์การบริหารส่วนตำบลคอกช้าง  มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น ๖,๖๒๑ คน  แยกเป็น  ชาย    ๓,๒๘๗ คน   หญิง   ๓,๓๓๔   คน  มีความหนาเฉลี่ยประมาณ   ๑๘๔  คน / ตร.กม.   
๔.  สภาพทางสังคม
     ๔.๑  การศึกษา  ในพื้นที่ตำบลคอกช้างมีการจัดการด้านการศึกษาเริ่มตั้งแต่ระดับชั้นเตรียมอนุบาลไปจนถึงระดับมัธยมศึกษา  มีสถานศึกษาในพื้นที่ประกอบด้วย
     -  โรงเรียน สพฐ.          จำนวน   ๔   แห่ง
     -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก      จำนวน   ๔   ศูนย์
     ๔.๒  สาธารณสุข  การดูแลด้านสุขภาพและการสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลคอกช้างมีหลายรูปแบบ  เช่น  อสม.  กลุ่มองค์กรชุมชน  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  เป็นต้น  เน้นประชาชนเป็นดูแลสุขภาพของตนเองโดยองค์กรและหน่วยงานต่างๆ  เป็นผู้ให้ความรู้และคำแนะนำ         
     ๔.๓  ยาเสพติด  ปัญหาด้านยาเสพติดในพื้นที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ  ทั้งภาคราชการ  เอกชนและประชาชน  ในการร่วมป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  อาทิ  การตั้งจุดตรวจจุดสกัด  การจัดกิจกรรมอบรมเยาวชน  การจัดกิจกรรมส่งเสริมสถาบันครอบครัว  ทำให้สามารถลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดลงได้
     ๔.๔  การสังคมสงเคราะห์  องค์การบริหารส่วนตำบลคอกช้างได้มีการบริหารจัดการด้านการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส  ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ติดเชื้อ  ร่วมกับหน่วยงานราชการอื่น  เช่น  สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด  ได้ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น  เบี้ยยังชีพ  เงินทุนประกอบอาชีพ  รถเข็นสำหรับคนพิการ  สร้างบ้านสำหรับคนยากจน  ฯลฯ
๕.  ระบบการบริการพื้นฐาน
   ๕.๑  การคมนาคมขนส่ง 
-  ถนนสายหลักที่ใช้ติดต่อกับอำเภอที่ลาดยางแล้ว   ๑  สาย
-  ถนนภายในหมู่บ้านพื้นคอนกรีต                           ๖๑  สาย
-  ถนนลูกรัง                                                         ๓๕  สาย
    ๕.๒  การไฟฟ้า
-  มีไฟฟ้าใช้ครบทั้ง                                             ๑๓      หมู่บ้าน
     ๕.๓   การประปา
-  มีระบบประปาหมู่บ้านใช้ทั้ง                                ๑๓  หมู่บ้าน
     ๕.๔   โทรศัพท์
-  ใช้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่  มีสัญญาณใช้ได้ทั่วถึงทั้ง  ๑๓  หมู่บ้าน                               
     ๕.๕  ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่งและวัสดุครุภัณฑ์
-  มีไปรษณีย์ประจำตำบล  ๑  แห่ง
 ๖.  ระบบเศรษฐกิจ
     ๖.๑  การเกษตร  ประชาชนในพื้นที่ตำบลคอกช้างประกอบอาชีพทางด้านการทำเกษตรกรรม    เป็นส่วนมาก  ประกอบด้วย  การทำนาข้าว  ไร่อ้อย  ปลูกมะเขือเทศ  เป็นต้น
     ๖.๒  การประมง 
                   -
     ๖.๓  การปศุสัตว์  อาชีพด้านปศุสัตว์  เช่น  ฟาร์มเลี้ยงไก่  ฟาร์มเลี้ยงหมู  บ่อปลา ฯลฯ
      ๖.๔  การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
-  กลุ่มพัฒนาอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้า                    ๑        กลุ่ม (ม.๑๒)
-  กลุ่มพัฒนาอาชีพเลี้ยงสุกร                             ๑        กลุ่ม (ม.๗)
-  กลุ่มปลูกมะเขือเทศ                                       ๒        กลุ่ม  (ม.๒,ม.๙)
 -  กลุ่มเพาะเห็ดขอนขาว                                  ๑        กลุ่ม  (ม.๕)
-  กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง                                     ๑        กลุ่ม  (ม.๑๓)
-  กลุ่มทอผ้ามัดหมี่                                          ๑        กลุ่ม  (ม.๑๑)                                      
-  กลุ่มเลี้ยงโคกระบือ                                      ๑        กลุ่ม  (ม.๔)
-  กลุ่มปลูกดอกมะลิ/เลี้ยงปลาในบ่อดิน             ๓        กลุ่ม  (ม.๓ ม.๘ ม.๖)
 ๗.  เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
      ๗.๑   ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
หมู่ที่  ๑          บ้านคอกช้าง
หมู่ที่  ๒          บ้านดงแสนแผง
หมู่ที่  ๓          บ้านดงหลี่
หมู่ที่  ๔          บ้านนาทราย
หมู่ที่  ๕          บ้านเหมือดแอ่
หมู่ที่  ๖          บ้านนากอ
หมู่ที่  ๗          บ้านสมสะอาด
หมู่ที่  ๘          บ้านดงมุข
หมู่ที่  ๙          บ้านใหม่เอราวัณ
หมู่ที่  ๑๐        บ้านโนนเชียงคูณ
หมู่ที่  ๑๑        บ้านพลายงาม
หมู่ที่  ๑๒        บ้านโพธิ์กลาง
หมู่ที่  ๑๓        บ้านโนนธาตุ
     ๗.๒   ข้อมูลด้านการเกษตร
             อาชีพด้านการเกษตรในพื้นที่  เช่น  ทำนาข้าว (นาปี/นาปรัง)  ไร่อ้อย  ปลูกมะเขือเทศ เป็นต้น
     ๗.๓  ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
-  ลำน้ำ, ลำห้วย                     ๘        สาย
-  บึง, หนอง, และอื่น ๆ            ๖        แห่ง
       ๗.๔  ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน  น้ำใช้  (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค  บริโภค)
 -  ฝาย                               ๑๕      แห่ง
 -  บ่อน้ำตื้น                         ๒๐      แห่ง
 -  บ่อน้ำโยก                       ๒๘      แห่ง
 -  บ่อน้ำประปาประจำหมู่บ้าน       ๗      แห่ง
-  ประปาประจำหมู่บ้านขนาดใหญ่  ๒      แห่ง
๘.  ศาสนา  ประเพณี  วัฒนธรรม
       ๘.๑  การนับถือศาสนา  ประชาชนในพื้นที่นับถือศาสนาพุทธ
       ๘.๒  ประเพณีและงานประจำปี             
-  งานบุญคุณลาน (บุญเดือนยี่)
-  ประเพณีบุญมหาชาติ  (บุญเดือนสี่)
-  ประเพณีสงกรานต์
 -  ประเพณีบุญบั้งไฟ      
-  ประเพณีลอยกระทง
       ๘.๓  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภาษาถิ่น
          ภาษาถิ่นนิยมใช้ภาษาอีสาน และมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ  เช่น  การทำลูกประคบสมุนไพร  การทอผ้าพื้นเมือง  เป็นต้น
     ๘.๔  สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
          ตำบลคอกช้างมีสินค้าพื้นเมืองที่โดดเด่น  คือการทอผ้าพื้นเมืองและนำมาแปรรูปเป็นสินค้าที่ผลิตจากผ้า  เช่น  ผ้าถุง  เสื้อ  ชุดผ้าไทย  ผ้าขาวม้า  ผ้าคลุมต่างๆ  ซึ่งมีการนำมาจำหน่ายในโอกาสต่างๆ  อิทิ  การออกร้านต้อนรับแขกผู้มาเยี่ยมเยือน  จำหน่ายให้กับคณะศึกษาดูงาน  เป็นของฝากที่ระลึกสำหรับแขกผู้ใหญ่และเป็นสินค้าโอท็อปของตำบลอีกด้วย
                                                            
๙.  ทรัพยากรธรรมชาติ
           ในพื้นที่ตำบลคอกช้างทรัพยากรป่าไม้ยังคงความอุดมสมบูรณ์  เนื่องจากประชาชนให้ความสำคัญและร่วมกันอนุรักษ์ป่าชุมชน  ป่าสาธารณะเป็นอย่างดี  ส่วนทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝนปริมาณน้ำจะเพียงพอต่อการทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์  สำหรับฤดูแล้งเกษตรกรจะอาศัยน้ำจากแหล่งกักเก็บน้ำห้วย  หนอง  คลอง  บึง  ต่างๆ