ข้อมูลทั่วไปของโครงการ

แนวทางและวิธีการให้บริการ
          โครงการชลประทานตราด มีวิธีการในการให้บริการ ให้แก่ผู้รับบริการ 2 รูปแบบ ได้ แก่ ผู้ใช้น้ำ และ ผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำ
สำหรับผู้ใช้น้ำ
          - มีการเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนและพื้นที่บริการ โดยการพัฒนาแหล่งน้ำให้เป็นอ่างเก็บน้ำพัฒนาระบบคลองส่งน้ำและระบบท่อส่งน้ำ เพื่อนำน้ำไปให้บริการแก่ผู้ใช้น้ำถึงพื้นที่ที่มีความต้องการและขาดแคลนน้ำ ทั้งเพื่ออุปโภค – บริโภค การเกษตร และภาคอุตสาหกรรม
          - ตรวจสอบปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ที่สามารถนำไปใช้ได้เพื่อให้ทราบถึงความพอประมาณ ไม่ใช้มากหรือน้อยเกินไป
          - จัดทำแผนการจัดสรรน้ำ เพื่อให้มีปริมาณน้ำที่เพียงพอ
          - จัดสรรน้ำตามแผนที่กำหนด โดยผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการจัดสรรน้ำอย่างมีระบบ
สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำ
          - การคาดการณ์และการติดตามสถานการณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย สภาพภูมิอากาศ  สภาพน้ำฝน สภาพน้ำท่าสภาพน้ำในอ่าง สภาพน้ำท่วม และพายุต่างๆเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำและการแก้ไขปัญหาทางน้ำต่างๆเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในอ่างในการกำหนดการกักเก็บน้ำและการระบายน้ำ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในแต่ละช่วงเวลา และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบจากสภาพน้ำล้นอ่างฯอย่างรุนแรง และเกิดภาวะน้ำท่วม
          - มีการจัดเตรียมแผนระยะสั้นในการป้องกันการเกิดภัยจากน้ำ
                   ประชาสัมพันธ์ :  เตรียมการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบถึงสถานการณ์น้ำอย่างสม่ำเสมอ ติดตามตรวจสอบสถานการณ์น้ำในพื้นที่ (อบต.) อย่างสม่ำเสมอ ประสานงานกับหน่วยงานในจังหวัดเพื่อร่วมกันวางแผนป้องกันการเกิดภัยจากน้ำ (ดำเนินการตลอดทั้งปี ทั้งภัยแล้งและอุทกภัย)  รวมถึงการรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด
                   เครื่องสูบน้ำ : ดำเนินการขอเครื่องสูบน้ำจากส่วนกลางเพื่อช่วยเหลือปัญหาการเกิดภัยแล้ง ปีละ 4 เครื่อง ขนาด 12 นิ้ว
                   รถบรรทุกน้ำ : ดำเนินการเตรียมรถยนต์บรรทุกน้ำ จำนวน 13 คัน เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาด้านน้ำอุปโภค – บริโภค
 
 
 
          - มีการตรวจสอบความพร้อมใช้งานของอาคารชลประทานต่างๆ เช่น ทำนบดิน และอาคารระบายน้ำ การขุดลอกขยายลำน้ำ การกำจัดวัชพืชที่ขวางทางน้ำ
          - การขุดลอกแหล่งน้ำ และการสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ
จัดตั้งศูนย์บริการด้านการเกษตร (โครงการชลประทานตราด)
          - มีการจัดตั้งศูนย์ร้องเรียนแก้ไขปัญหา (ตามแนวทางของ คสช.) แก้ปัญหาเกี่ยวกับชลประทาน ทั้งด้านผลกระทบต่างๆจากการก่อสร้าง และทางด้านการบริหารจัดการน้ำของโครงการชลประทาน ปัญหาต่างๆของราษฎรที่เกี่ยวกับงานชลประทานในทุกๆด้าน
เทคโนโลยี อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ในการให้บริการและการปฏิบัติงาน
1. เทคโนโลยีด้านวิศวกรรม และบริหารจัดการน้ำ
2.เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารและตัดสินใจ
- ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต     - ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์      - ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
- ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงบประมาณ การเงิน พัสดุ และทรัพยากรบุคคล
3. เครื่องมือ ด้านอุตุ-อุทกวิทยา
4. โครงการศึกษาวางระบบและติดตั้งระบบโทรมาตรเพื่อการพยากรณ์น้ำและเตือนภัยลุ่มน้ำตราด
5. โครงการโทรมาตรขนาดเล็ก
6. เครื่องจักรกล ยานพาหนะและขนส่ง เช่น เครื่องสูบน้ำ รถตักหน้าขุดหลัง รถบรรทุก  1 ตันและ 2 ตัน
7. อุปกรณ์ควบคุมอาคารชลประทานต่างๆเช่น อาคารบังคับน้ำ ทั้งแบบ Manual และ Automatic
8. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ประกอบ อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ LAN
9. อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน
10. อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร ที่สามารถติดต่อสื่อสารได้ทุกระดับ ช่วยอำนวยความสะดวกในงานด้านต่างๆให้มีความ คล่องตัวสำหรับการปฏิบัติงานและการให้บริการในพื้นที่ โดย
มี ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษา ที่ 1 และ 2 มีหน้าที่รับผิดชอบครอบคลุมทั้งจังหวัดตราด