ตำบลจัดการสุขภาพ

 ตำบลจัดการสุขภาพ หมายถึง ตำบลที่มีกระบวนการสร้างสุขภาพที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบทบาทภาคประชาชน ท้องถิ่น 
และทุกๆ ภาคส่วนในท้องถิ่น 
ที่มีการบูรณาการร่วมกัน ช่วยกันค้นหาหรือกำหนดปัญหาสุขภาพ กำหนดอนาคต ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาด้านสุขภาพ 
และมาตรการทางสังคม รวมทั้งนวัตกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกสาธารณะ โดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกัน 
ทั้งนี้เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง
 (๓อ. ๒ส.) และโรควิถีชีวิต ๕ โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ  หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง

            มาตรฐานที่กำหนด หมายถึง เกณฑ์การประเมินกระบวนการพัฒนาที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานและวัดผลสำเร็จของตำบลจัดการสุขภาพ 
ประกอบด้วย ๕ ระดับ คือ ระดับพื้นฐาน ระดับพัฒนา ระดับดี ระดับดีมาก และระดับดีเยี่ยม
  
แบ่งระดับมาตรฐาน เป็น ๕ ระดับ ดังนี้

๑)การพัฒนาทีมสุขภาพตำบล (ระดับพื้นฐาน)
                    ๑.๑ มีองค์ประกอบเครือข่ายที่เข้าร่วมทีมสุขภาพตำบลจากหลายภาคส่วน

                    ๑.๒ มีการสร้างและพัฒนาทีมเครือข่ายสุขภาพตำบล โดยกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาร่วมกัน และบทบาทของแต่ละภาคส่วนที่ชัดเจน
                    ๑.๓ มีการพัฒนาศักยภาพทีมสุขภาพตำบล ในเรื่องการจัดทำแผนสุขภาพตำบล โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ หรืออื่นๆ 
                             โดยกระบวนการจัดทำแผนอย่างมีส่วนร่วม
 และใช้เกณฑ์หมู่บ้านจัดการสุขภาพประกอบการพัฒนา
                    ๑.๔ มีการพัฒนาความรู้ อสม. ในเรื่องการดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัย โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากวิถีชีวิต 
                     ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ 
โรคหลอดเลือดสมอง  โรคมะเร็ง และหลักสูตรนักจัดการสุขภาพ

๒). การพัฒนากระบวนการจัดทำแผนสุขภาพตำบล ( ระดับพัฒนา )
                      (ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับพื้นฐานครบทุกข้อ)
                  ๒.๑ มีการคืนข้อมูลสถานะสุขภาพของชุมชน เพื่อสร้างการรับรู้ และเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนสุขภาพตำบล
                  ๒.๒ มีการจัดทำแผนสุขภาพตำบล โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของชุมชน และร่วมจัดทำแผนสุขภาพตำบล
                          โครงการและกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ เพื่อการแก้ปัญหาด้วยกระบวนของชุมชน
                  ๒.๓ มีการระดมทรัพยากร ทุน และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากชุมชนมาใช้สนับสนุนโครงการ และกิจกรรมที่กำหนดไว้
             ๒.๔ มีการสื่อสารแผนงาน / โครงการแก่ผู้เกี่ยวข้องรับรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

 ๓). การขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบลสู่การปฏิบัติ ( ระดับดี )
                        (ผ่านเกณฑ์การประเมินในดับพื้นฐาน และระดับพัฒนาครบทุกข้อ)
                  ๓.๑ มีชุมชน/ท้องถิ่นเป็นพลังสำคัญขับเคลื่อนแผนสุขภาพตำบล /โครงการ /กิจกรรม อย่างมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ และเข้ามามีส่วนร่วมด้วยความเต็มใจ
                  ๓.๒ มีกิจกรรมเชิงรุกในหมู่บ้าน/ชุมชน ตามแผนสุขภาพตำบล เช่น การส่งเสริมสุขภาพ (๓อ. ๒ส. ตามกลุ่มวัย) 
                          การเฝ้าระวังโรค/เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพวิถีชีวิต การคัดกรอง การคุ้มครองผู้บริโภค 
                          โดยมี อสม. แกนนำชุมชน เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

                  ๓.๓ มี อสม.นักจัดการสุขภาพ ที่ได้รับการอบรม และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อย่างน้อยร้อยละ ๒๐ ของผู้ได้รับการอบรม
                  ๓.๔ มีหมู่บ้านที่ผ่านเกณฑ์การประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพอย่างน้อย ร้อยละ ๗๐

 ๔). ตำบลมีระบบการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง (ระดับดีมาก)
                          (ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับพื้นฐาน ระดับพัฒนา และระดับดี ครบทุกข้อ)
                     ๔.๑ มีข้อมูลที่จำเป็นเพื่อใช้ในการติดตามประเมินผล และรายงานความก้าวหน้าให้ชุมชนรับรู้อย่างต่อเนื่อง
                     ๔.๒ มีกระบวนการติดตามและควบคุมกำกับ การบริหารจัดการ การพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างสม่ำเสมอ
                     ๔.๓ มีการสรุปประเมินผล  เพื่อปรับกระบวนการ/ กิจกรรม/ โครงการ
                     ๔.๔ มีผลลัพธ์ของการพัฒนา เช่น มีมาตรการทางสังคม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการสุขภาพที่เหมาะสม

  ๕). ตำบลจัดการสุขภาพต้นแบบ ( ระดับดีเยี่ยม )
                         (ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับพื้นฐาน ระดับพัฒนา ระดับดี และระดับดีมาก ครบทุกข้อ)
                     ๕.๑ มีวิทยากรชุมชนที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพความเป็นครู หรือวิทยากรกระบวนการ วิทยากรต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ    
                     ๕.๒ มีการสรุปบทเรียนการพัฒนา การจัดการความรู้ และนวัตกรรมสุขภาพชุมชน ที่นำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพ
                     ๕.๓ มีการพัฒนาศูนย์เรียนรู้สุขภาพชุมชน เช่น โรงเรียนนวัตกรรมสุขภาพชุมชน/โรงเรียน อสม.                 
                              ที่มีหลักสูตรเป็นไปตามความต้องการของชุมชน รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชนและระหว่างชุมชน

                     ๕.๔ มีการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การพัฒนาระหว่างชุมชนหรือตำบลอื่นๆ อย่างกว้างขวาง