อำนาจหน้าที่

          พระราชบัญญัติเทศบาล  พ.ศ. ๒๔๙๖ 
        แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๕๒
 
ส่วนที่ ๓
หน้าที่ของเทศบาล
 
       ส่วนที่ ๑
เทศบาลตำบล
มาตรา ๔๙ ยกเลิก
มาตรา ๕๐ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
  1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
  2. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
  3. รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
  4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
  5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
  6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
  7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
  8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
  9. หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
          การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  และให้คำนึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทั้งนี้   ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้นและหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาตรา ๕๑ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาลดังต่อไปนี้
  1. ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
  2. ให้มีโรงฆ่าสัตว์
  3. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
  4. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
  5. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
  6. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
  7. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
  8. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
  9. เทศพาณิชย์
 
 
พระราชบัญญัติ
กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. ๒๕๔๒
 
หมวด ๒
การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ
 
มาตรา ๑๖  ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบ     บริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้
  1.  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
  2.  การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
  3.  การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
  4.  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
  5.  การสาธารณูปการ
  6.  การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
  7.  การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
  8.  การส่งเสริมการท่องเที่ยว
  9.  การจัดการศึกษา
(๑๐)  การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
 (๑๑)  การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(๑๒)  การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
(๑๓)  การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(๑๔)  การส่งเสริมกีฬา
(๑๕)  การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(๑๖)  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(๑๗)  การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(๑๘)  การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
(๑๙)  การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
(๒๐)  การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
(๒๑)  การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(๒๒)  การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
 (๒๓)    การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและ สาธารณสถานอื่น ๆ
(๒๔)  การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
(๒๕)  การผังเมือง
(๒๖)  การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
(๒๗)  การดูแลรักษาที่สาธารณะ
(๒๘)  การควบคุมอาคาร
(๒๙)  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 (๓๐)  การรักษาความสงบเรียบร้อยการส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  (๓๑)  กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด


 
เทศบาลตำบลกุสุมาลย์อาจมีรายได้ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖
และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒
 
๑.  เทศบาล อาจมีรายได้  ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖  มาตรา ๖๖  ดังต่อไปนี้
(๑)  ภาษีอากรตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
(๒)  ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
 (๓)  รายได้จากทรัพย์สินของเทศบาล
(๔)  รายได้จากการสาธารณูปโภคและเทศพาณิชย์
(๕)  พันธบัตร หรือเงินกู้ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
(๖)  เงินกู้จากกระทรวงทบวงกรม องค์กร หรือนิติบุคคลต่าง ๆ
(๗)  เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๘)  เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
(๙)  รายได้อื่นใดตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
 การกู้เงินตามข้อ (๖)  เทศบาลจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสภาเทศบาล
และได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้ว
 
. เทศบาลอาจมีรายได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และเงินรายได้ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒  มาตรา ๒๓  ดังต่อไปนี้
(๑)  ภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน
(๒)  ภาษีบำรุงท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่
(๓)  ภาษีป้ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีป้าย
(๔)  ภาษีมูลเพิ่มตามประมวลรัษฎากรที่ได้รับการจัดสรรในอัตราซึ่งเมื่อรวมกับการจัดสรรตามมาตรา  ๒๔ (๓)   และมาตรา ๒๕ (๖) แล้วไม่เกินร้อยละสามสิบของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ หักส่วนที่ต้องจ่ายคืนแล้ว โดยเป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรที่จะจัดเก็บ
(๕)  ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากรโดยออกข้อบัญญัติจัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราซึ่งเมื่อรวมกับอัตราตามมาตรา ๒๔ (๔) แล้วไม่เกินร้อยละสามสิบของอัตราภาษีที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร โดยเป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรที่จะจัดเก็บ
(๖)  ภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต ภาษีสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และค่าแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยยาสูบ ซึ่งเก็บจากการค้าในเขตเทศบาลเมืองพัทยาและองค์การบริหารส่วนตำบล โดยออกข้อบัญญัติจัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราไม่เกินร้อยละสามสิบของอัตราภาษีที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บ และให้ถือเป็นภาษีและค่าแสตมป์ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น โดยเป็นหน้าที่ของกรมสรรพสามิตที่จะจัดเก็บ
(๗)  ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ รวมทั้งเงินเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและค่าธรรมเนียมล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
(๘)  ภาษีการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน
(๙)  ภาษีเพื่อการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
(๑๐)  อากรการฆ่าสัตว์และผลประโยชน์อื่นอันเกิดจากการฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์
(๑๑)   อากรรังนกอีแอ่นตามกฎหมายว่าด้วยอากรรังอีแอ่น
(๑๒)  ค่าภาคหลวงแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่หลังจากหักส่งเป็นรายได้ของรัฐในอัตรา
ร้อยละสี่สิบแล้วดังต่อไปนี้
(ก)  องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลที่มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ตามประทานบัตรให้ได้รับการจัดสรรในอัตราร้อยละยี่สิบของเงินค่าภาคหลวงแร่ที่จัดเก็บได้ภายในเขต
(ข)  องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลอื่นที่อยู่ภายในจังหวัดที่มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ตามประทานบัตร ให้ได้รับการจัดสรรในอัตราร้อยละสิบของเงินค่าภาคหลวงแร่ที่จัดเก็บได้ภายในเขต
(ค)  องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลในจังหวัดอื่นให้ได้รับการจัดสรรในอัตราร้อยละสิบของเงินค่าภาคหลวงแร่ที่จัดเก็บได้ภายในเขต
(๑๓)  ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมหลังจากหักส่งเป็นรายได้ของรัฐในอัตราร้อยละสี่สิบแล้ว ดังต่อไปนี้
(ก)  องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลที่มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่สัมปทานให้ได้รับการจัดสรรในอัตราร้อยละยี่สิบของเงินค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่จัดเก็บได้ภายในเขต
(ข)  องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลอื่นที่อยู่ภายในจังหวัดที่มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ตามสัมปทานให้ได้รับการจัดสรรในอัตราร้อยละสิบของเงินค่าหลวงปิโตรเลียมที่จัดเก็บได้ภายในเขต
(ค)  องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลในจังหวัดอื่น ให้ได้รับการจัดสรรในอัตราร้อยละสิบของเงินค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่จัดเก็บได้ภายในเขต
(๑๔)  ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่มีทุนทรัพย์ภายในเขต  ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินและกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
(๑๕)  ค่าธรรมเนียมสนามบินตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามอัตราและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
(๑๖)  ค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้โดยออกข้อบัญญัติจัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราไม่เกินร้อยละสิบของค่าธรรมเนียมที่มีการจัดเก็บตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
(ก)  ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
(ข)  ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน
(๑๗)  ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับในกิจการที่กฎหมายมอบหมายหน้าที่ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการภายในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ และให้ตกเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าว ในกรณีกฎหมายกำหนดให้เทศบาลเป็นผู้จัดเก็บค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ให้นำรายได้มาแบ่งให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลที่อยู่ภายในเขตจังหวัดตามที่คณะกรรมการกำหนด
(๑๘)  ค่าใช้น้ำบาดาลตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามสัดส่วนที่
คณะกรรมการกำหนด
(๑๙)  ค่าธรรมเนียมใดๆ ที่เรียกเก็บจากผู้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากบริการสาธารณะที่จัดให้   มีขึ้น
(๒๐)  รายได้อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นของเทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล
เอกสารแนบ :